
อาหารทารก มือใหม่สำหรับคุณแม่ป้ายแดง เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนก่อนจะคลอดได้จัดเตรียมอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ผ้าอ้อม ผ้าขนหนู อุปกรณ์อาบน้ำ ไว้ให้สำหรับลูกน้อยที่ได้คลอดออกมา หลังจากคลอดออกมาแล้วประมาน 2-3 วันน้ำนมของคุณแม่ก็จะเริ่มไหล สำหรับทารกแล้วนั้นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับเค้ามากที่สุดก็คือน้ำนมจากคุณแม่ เพราะการได้ดูดนมจากเต้าของแม่ เป็นสารอาหารแรกที่มีจะช่วยสร้างภูมิต้านทานที่ดีให้กับทารก ช่วงแรกของการคลอดลูกน้อยจะถ่ายออกมาเป็นสีเขียวเข้มแต่หลังจากได้น้ำนมของแม่ไปนั้นจะทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นกลับมาเป็นสีเหลืองตามปกติ ซึ่งในช่วงนั้นคุณแม่ต้องคอยเช็คสะดือของลูกน้อยอย่างระมัดระวัง แล้วสะดือก็จะค่อยๆแห้งและหลุดภายใน 2 อาทิตย์แรก โดยตอนแรกเด็กทารกจะมีอาการแปลกๆแต่คุณแม่ไม่ต้องตกใจ เช่น สะดืออักเสบ ตัวเหลืองหลังคลอด อาการท้องเสียบ้าง แม้กระทั่งนอนได้ทั้งวันง่วงซึม จะเห็นได้ว่าช่วงแรกของเด็กทารกการได้รับสารอาหารไม่ได้มีอะไรมากมายเลยนอกจากการได้ดูน้ำนมจากคุณแม่เป็นอาหารเด็กทารก เพราะอย่างที่บอกคุณแม่ไปว่าน้ำนมนั้นมีสารอาหารมากมายที่ช่วยให้ร่างกายของทารกมีการเจริญเติบโตที่ดี ส่งผลถึงระบบต่างๆในร่างกายของทารก ทั้งการทางเดินอาหาร การปรับสมดุลในร่างกายที่ดี แต่สำหรับคุณแม่ที่น้ำนมไม่ไหลไม่ต้องเครียดและกังวลมาก ค่อยๆให้ลูกน้อยดูดและตั้งท่าให้เข้าถึงตัวลานนม หาผ้าอุ่นมาคอยประคบ 3-5 นาที ก่อนจะให้นมกับลูกน้อย พยายามจับลูกน้อยเข้าเต้าบ่อยๆวันละประมาน 7-8 ครั้ง ก็จะช่วยให้น้ำนมไหลพุ่งได้
ความสำคัญและประโยชน์ของ อาหารทารก

เด็กทารกในช่วง 6 เดือนแรกนอกจากน้ำนมของแม่ ยังสามารถหาสารอาหารมาให้ลูกน้อยนั้นทานได้ การที่คุณแม่นั้นมีสุขภาพที่ดีก็จะส่งผลต่อน้ำนมที่ลุกน้อยนั้นทานเข้าไป การที่ทารกนั้นเติบโตได้เต็มที่ตามวัยของเค้า นอกจากน้ำนมก็ควรได้รับสารอาหารตามวัยที่เพิ่มมากขึ้นหลังจาก 6 เดือนไปแล้ว เช่น การได้รับวิตามินเอ โปรตีน แคลเซียม ไอโอดีน เป็นต้น ลักษณะของอาหารที่ทารกนั้นทานเข้าไปก็ให้เค้าได้คุ้นชินกับอาหารตามวัย โดยมีลักษณะที่กึ่งแข็งกึ่งเหลว โดยการบดให้เข้ากับน้ำนมของคุณแม่ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ถึงรสชาติของอาหาร เพื่อที่เค้าจะพัฒนาไปสู่การรับประทานแบบที่ผู้ใหญ่ทานกัน หรือเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามอายุวัยของเค้า นอกจากนี้ประโยชน์ของการทานจะช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมการกินที่ดีของทารกเอง ป้องกันไม่ให้เค้านั้นเสี่ยงการเกิดโรคได้ง่าย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หัวใจ ฟันผุ หรือขาดสารอาหารพวกโปรตีน ธาตุเหล็กเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรจะให้ลูกๆได้ทานอาหารตามปริมาณที่พอเหมาะไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป เพราะจะส่งผลต่อร่างกายในระยะยาวอีกด้วย ปัญหาต่างๆก็จะตามมาเช่น โรคขาดสารอาหาร โรคภาวะแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต ดังนั้นความสำคัญของอาหารทารกจึงมีผลต่อร่างกายของเด็กโดยตรง ได้ทั้งรับประโยชน์มากมายและเกิดโทษได้เช่นกัน
อาหารของทารกวัยแรกเริ่ม ทานอย่างไรให้สมวัย

การที่ทารกนั้นมีการเจริญเติบที่สมวัย นอกจากจะทานนมแม่อย่างเดียวแล้วการที่มารกนั้นโตขึ้นก็จะได้รับสารอาหารที่มากขึ้น แต่ก่อนที่จะรับสารอาหารอย่างอื่นนอกจากนมแม่ ทารกต้องมีความพร้อมเมื่อระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท กล้ามเนื้อ ตับ ไต ได้พัฒนาจนสามารถทำหน้าที่ได้ดีแล้ว อย่างแรกความพร้อมของระบบทางเดินอาหาร โดยแรกเริ่มเลยทารกจะมี extrusion reflex คืออาการที่ทารกนั้นเอาลิ้นดุนอาหาร แต่ช่วงวัย 4-6 เดือนอาการอันนี้ก็จะหายไป ทารกจะใช้ลิ้นตวัดอาหารลงลำคอ และนอกจากนี้กระเพราะอาหารของทารกวัยนี้จะเริ่มหลั่งกรดน้ำย่อยได้มากขึ้น และตับอ่อนก็จะหลั่งน้ำย่อย amylase และ lipase เพิ่มขึ้นด้วย ระบบของประสาทเด็กวัย 4-6 เดือนจะเริ่มปฏิเสธเมื่อตัวเองอิ่มได้ ระบบกล้ามเนื้อ เด็กสามารถทรงตัวของหัวได้ เริ่มใช้มือปัดหรือคว้าได้ และความพร้อมของไต ไตจะทำหน้าที่ขับของเสียและขับถ่ายและทำให้ปัสสาวะมีสีที่เข้มข้น นอกจากจะทานอาหารให้สมกับวัยแล้ว การทานอาหารให้เพียงพอต่อทารกก็เป็นสิ่งที่จำเป็นในแต่ละวัน อยู่ที่ 575 กิโลแคลอรี่/วัน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าอาหารทารกหรือเด็กวัยอื่นๆก็ควรได้รับสารอาหารที่ได้รับควรจะครบ 5 หมู่ตามโภชนาการทั้ง คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุและวิตามิน
ข้อแนะนำของอาหารทารก เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบและเพียงพอ

ช่วงทารกในวัยแรกเกิดอาหารทารกนั้นควรจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อปริมาณให้ร่างกายได้อย่างเต็มที่
1. ทานนมแม่จนถึงอายุ 2 ขวบ เพราะวัยแรกเกิดจนถึงทารก 5-6 เดือนนมแม่นั้นสำคัญเป็นอย่างมาก
2. ให้ทารกได้รับสารอาหารที่หลากหลายและมีคุณค่าด้านโภชนาการ เพื่อให้ได้รับพลังงานครบถ้วนและเพียงพอ ในวัย 5-6 เดือนนั้นอาจจะเริ่มปรับการกิน มี เนื้อสัตว์ ไข่ ผัก ผลไม้ เข้ามาผสมกับนมแม่ และทานเป็นประจำทุกวัน
3. กินเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีนสูง เช่น หมู ไก่ ตับ
4. กินผักและผลไม้ทุกวัน โดยแต่ละวันมีความหลากหลาย ทานผัก ได้แก่ ตำลึง แครอท ฟักทอง เป็นต้น และทานผลไม้ที่ไม่ได้มีรสที่หวานมาก เช่น ส้ม มะละกอ กล้วย เป็นต้น ทั้งผักและผลไม้นั้นอุดมไปด้วยแร่ธาตุและใยอาหารที่ดี
5. การทำอาหารควรใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันตับปลา หรือตำมันถั่วเหลือง เพราะเป็นไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายของเด็ก
6. ไม่ควรปรุงอาหาร อาหารทารกควรมีรสชาติที่จืดไปเลย ไม่ควรปรุงให้มีรสหวาน รสเค็ม ให้รสชาติแท้ๆดั้งเดิมของตัววัตถุดิบเอง จะยังคงคุณค่าสายอาหารได้ดี
7. ให้เด็กทารกหัดดื่มน้ำที่สะอาดต่อวันให้ได้เยอะ
มาถึงตรงนี้แล้ว เป็นยังไงกันว่าคะคุณแม่ป้ายแดง การเตรียมอาหารทารกให้น้องหนูนั้นในช่วงแรกก็ไม่มีอะไรที่น่ากังวลและเป็นห่วง เพราะช่วงแรก 1-3 เดือนแรกน้องหนูยังทานได้แต่นมของคุณแม่เท่านั้น หลังจาก 5-6 เดือนผ่านไปแล้วเด็กเริ่มมีพัฒนาการตามที่บอกก็สามารถที่เริ่มเพิ่มเติมสารอาหารให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้รับโปรตีน ไขมันจำเป็น แร่ธาตุและวิตามินที่เพิ่มมากขึ้นด้วย เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีของเจ้าหนูน้อย ลองทำกันดูได้นะคะ
ขอบคุณรูปจาก
https://www.sanook.com/health/7653/
Credit : www.goodplantskapook.com www.beautyclubth.com www.itgooru.com www.moncleroutletsales.com www.sanookfood.com