ส่วนสูงเด็ก การเจริญเติบโตของเด็กๆที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าก็คือความสูง ที่เราจะเห็นว่าลูกของเรานั้นโตขนาดนั้นไหนแล้วนะ ซึ่งความสูงของเด็กจะเริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อยๆจนมีช่วงอายุที่หยุดสูง คือช่วงอายุ 18 ปี ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยส่วนใหญ่คุณพ่อคุณแม่ก็อยากจะเห็นลูกตัวเองนั้นสูงยาวเข่าดี พร้อมที่จะหาสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อบำรุงให้ลูกนั้นมีส่วนสูงที่ดี แต่การทานอาหารที่เป็นประโยชน์ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยในเรื่องของความสูง นอกจากนั้นยังมีปัจจัยภายนอกอีก เช่น การนอนดึก สูงจากพันธุกรรม และการออกกำลังกาย เป็นต้น ในแต่ละช่วงวัยเกณฑ์ความสูงก็จะแตกต่างกัน และความแตกต่างของเพศชายและเพศหญิง เพราะทั้งสองเพศมีฮอร์โมนที่ไม่เหมือนกัน โดยเพศหญิงจะมีโกรท์ฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นความสูงทำให้ในแต่ละช่วงวัยเพศหญิงมีความสูงนำไปก่อน เราลองมาดูกันว่าจะมีปัจจัยไหนบ้างที่ช่วยส่งเสริมให้ส่วนสูงเด็กในแต่ละช่วงวัยนั้นมีส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นได้
ปัจจัยส่งผลให้ ส่วนสูงเด็ก นั้นมีการเจริญเติบโตที่ดี
ความสูงสามารถพัฒนาการได้ในวัยแรกเกิด จนถึงอายุ18 ปี ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ยังคิดว่าลูกสูงยังไม่พอ สามารถส่งเสริมด้วยปัจจัยเหล่านี้ได้
1. พันธุกรรม
ส่วนสูงปัจจัยแรกเลยคือพันธุกรรม นักวิจัยได้ค้นพบว่าพันธุกรรมส่งผลต่อความสูงประมาน 70-80% และส่วนที่เหลือคือปัจจัยภายนอก อาทิ การรับประทานอาหาร การออกกำลัง การพักผ่อนให้เพียง
2. การทานอาหารให้ถูกโภชนาการ
การทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการให้ครบทั้ง 5 หมู่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการความสูงของลูกๆได้เช่นกัน โดยเลือกทานที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมดื่มนมเยอะๆมีสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกที่ดี นอกจากนั้นยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารพวกโปรตีนส่งผลต่อความสูงด้วย กินโปรตีน เช่น ปลาซาร์ดีน มีทั้งโอเมก้า3 ช่วยเรื่องกล้ามเนื้อ วิตามินดี เสริมสร้างพวกแคลเซียมและโปรตีนและก็ยังมีไข่ไก่และเต้าหู้เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีแถมเต้าหู้ยังมีไขมันน้อยอีกด้วย โปรตีนที่ดีขาดไม่ได้เลยคือถั่ว เช่น อัลมอนด์ ช่วยในการยืดกระดูกมีทั้งธาตุเหล็ก โพแทสเซียม ยังต้านอนุมูลอิสระ ถั่วแระ ถั่วขาวที่ช่วยเพิ่มความยาว และผักใบเขียว เช่นผักโขม ผักบุ้ง คะน้า เพราะผักใบเขียวมีแคลเซียมมากกว่าผักชนิดอื่นๆ และยังมีวิตามินอีช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เช่นกัน ขาดไม่ได้เลยคือคาร์โบไฮเดรต อย่างข้าวโอ๊ตที่มีทั้งไฟเบอร์ให้ค่าพลังงานสูงและมีแคลเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อความสูง
3. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มมวลความสูงและเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกรวมถึงไขข้อต่างๆ การออกกำลังกายนั้นมีวิธีท่าออกกำลังที่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะกระโดด วิ่ง ในกีฬาต่าง เช่น เล่นฟุตบอล เล่นบาสเกตบอล กระโดเชือก ว่ายน้ำ นอกจากจะช่วยเพิ่มความสูงยังช่วยยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อมัดต่างๆภายในร่างกายอีกด้วย
4. การนอนให้เพียงพอและไม่ดึก
การนอนหลับให้เพียงนั้นส่งผลต่อความสูงอย่างไร เพราะขณะที่เราหลับอยู่นั้นจะมีสารฮอร์โมนที่เรียกว่าโกรท์ฮอร์โมนหลั่งสารออกมาทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ฮอร์โมนชนิดนี้จะหลั่งออกมาตอนที่เรานอนหลับสนิท ซึ่งโกรท์ฮอร์โมนจะช่วยซ่อมแซ่มส่วนต่างๆของร่างกาย และยังส่วนในเรื่องของความสูงอีกด้วย ซึ่งคนเราควรนอนหลับให้เพียงพอคือ 8 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นในวัยเด็กควรจะเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำและพักผ่อนให้เพียงในช่วงวัยที่ยังมีการเจริญเติบอยู่
5. เพศ
ในเรื่องของเพศนั้นจะมีโกรท์ฮอร์โมนที่ต่างกันออกไป เพศหญิงจะมีความสูงพัฒนาการได้เร็วกว่าเพศชาย ซึ่งเพศชายจะเริ่มสูงช่วงอายุ 10-11 ปี และอัตราการเติบโตเร็วสุดช่วงอายุ 13-14 ปี ส่วนเพศหญิงจะเริ่มต้นตอนอายุ 9-10 ปี และมีอัตราการเติบที่เร็วตอนประมาน 11-12 ปี แต่ถึงอย่างไรอัตราการเจริญเติบโตของเพศชายก็มีมากกว่าเพศหญิง โดยเฉลี่ย 5-6 นิ้วต่อปี แต่เพศหญิงมีอัตราการเจริญเติบโตอยู่ 3 นิ้วต่อปีเท่านั้น
6. ปัญหาของสุขภาพ
การเกิดโรคประจำตัวนั้นจะทำให้มีความผิดปกติภายในร่างกาย โรคที่จะส่งผลต่อความสูง เช่น ความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ ความผิดปกติของต่อมจะส่งผลทำให้ร่างกายนั้นเติบโตช้ากว่าปกติ กลุ่มอาการเทอเนอร์ เป็นความผิดปกติของพันธุกรรมมักจะเกิดขึ้นกับเพศหญิงที่เกิดออกมาเตี้ยและมีการเติบโตที่ช้ากว่าปกติเช่นกัน และโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดง จะมีลักษณะคล้ายเคียวเกี่ยวข้าวของเม็ดเลือดแดง จะส่งผลทำให้มีการเจริญเติบโตช้า
การเจริญเติบโตของ ส่วนสูงเด็ก ในแต่ละช่วงวัย
ในแต่ละช่วงวัยก็จะมีส่วนสูงที่ต่างกันออกไป
- แรกเกิด โดยเฉลี่ยมีความสูงอยู่ที่ 45-50 เซนติเมตร
- 6 เดือนแรก-1ขวบ ความสูงจะเพิ่มขึ้น 15-25 เซนติเมตรต่อเดือน
- 1-2 ปี ความสูงจะค่อยๆลงลดเหลือ แต่เพิ่มขึ้น 10-12 เซนติเมตรต่อปี
- 2-7 ปี ความสูงจะลดอยู่ที่ แต่เพิ่มขึ้น 5-7 เซนติเมตรต่อปี
- 8-18 ปี ความความสูงจะลดอยู่ที่ แต่เพิ่มขึ้น 7-8 เซนติเมตรต่อปี
นอกจากอัตราการเพิ่มความสูงแล้ว ยังสามารถคำนวณความสูงของเด็กได้คร่าวๆจาก
- ผู้ชาย (ความสูของพ่อ + ความสูงของแม่+13)/2
- ผู้หญิง (ความสูของพ่อ + ความสูงของแม่-13)/2
จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงอายุจะมีเพิ่มความสูงที่แตกต่างกันไป ซึ่งช่วงที่เพิ่มส่วนสูงเด็กต่อปีมากสุดก็ต้องเป็นช่วงของทารกไปจนถึง 1ขวบ เพราะเป็นช่วงที่ได้รับสารอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่จากการดูแลของคุณพ่อคุณแม่ที่ใส่ใจในเรื่องของอาหารและรับประทานน้ำนมของคุณแม่ทุกวัน เพราะนมนั้นมีส่วนผสมของแคลเซียมช่วยในเรื่องของความสูงและเร่งการเติบโตที่ดีต่อร่างกายของเด็กๆ และได้หลับพักผ่อนที่เพียงเรียกได้ว่าพักผ่อนทั้งวันเลยก็ว่าได้ เพราะเด็กวัยนี้แทบไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรที่หนักมาก และยังมีการเคลื่อนไหวตลอดวันทั้งการคลาน ตอนเริ่มหัดเดินก็แทบจะเริ่มเดินได้ทั้งวัน ชอบวิ่งเล่นไม่รู้จักเหนื่อยก็ว่าได้เลยเด็กในวัยนี้ ช่วงที่เริ่มจะพัฒนาช้าทั้งเพศชายและเพศหญิงก็คือช่วง 15-18 ปี พัฒนาการเริ่มจะคงที่ในเรื่องของความสูง ดังนั้นใครที่อยากสูงอย่าลืมหาอะไรมาบำรุงหรือออกกำลังกายกันบ่อย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงด้วยนะ
Credit : www.goodplantskapook.com www.beautyclubth.com www.itgooru.com www.moncleroutletsales.com www.sanookfood.com