บำรุงเลือด เป็นเรื่องสำคัญ เพราะช่วยป้องกันโลหิตจาง หากโลหิตจางรุนแรงอาจส่งผลกับการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจล้มเหลวได้ จึงไม่ควรละเลย หนึ่งในสาเหตุของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ การได้รับธาตุเหล็กน้อย เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เลือด ตับ เช่น คนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติหรือรับประทานผักที่มีสารต่อต้านการดูดซึมของธาตุเหล็กเป็นจำนวนมาก ซึ่งความต้องการธาตุเหล็กในแต่ละช่วงวัยจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ สรีรวิทยา การสูญเสียทางประจำเดือน และการเจริญเติบโต ดังนั้นปริมาณเหล็กที่ร่างกายควรได้รับ ผู้ใหญ่ชาย 1.04 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ใหญ่หญิง 9.4 – 24.7 มิลลิกรัมต่อวัน

ที่มา https://women.trueid.net/detail/9n6kPo035O4A
เลือดจาง หรือภาวะโลหิตจาง (Anemia) เกิดจากอะไร
เลือดจางเกิดได้จากหลายสาเหตุแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1. การสร้างเม็ดเลือดแดงลง ซึ่งเป็นได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีภาวะขาดวิตามินหรือแร่ธาตุที่จําเป็นต่อการสร้างของเม็ดเลือดแดง
ได้แก่ ธาตุเหล็ก, วิตามินบี 12, กรดโฟลิค เมื่อร่างกายได้รับวิตามินหรือแร่ธาตุไม่เพียงพอจึงทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์ได้ ทำให้เกิดภาวะ “โลหิตจาง” ซึ่งโลหิตจาง หรือ เลือดจาง จากสาเหตุนี้จะพบมากที่สุด
2. ความผิดปกติทางพันธุ์กรรมของเม็ดเลือดแดง โรคกลุ่มนี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย
- – โรคธาลัสซีเมียที่ถ่ายทอดจากทางกรรมพันธ์ทําให้เกิดภาวะโลหิตจาง
- – G-6-PD (ความผิดปกติทางพันธุกรรมทำให้พร่องเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดง)
- – การติดเชื้อบางชนิด เช่น มาลาเรีย, คลอสติเดียม, มัยโคพลาสมา เป็นต้น
3. สูญเสียเลือดเรื้อรังหรือเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ มีแผลในกระเพาะอาหาร ปัสสาวะปนเลือด บริจาคเลือด และการเสียเลือดจากประจำเดือน รวมถึงผู้ที่เสียเลือดเรื้อรังก็มักจะมีการขาดธาตุเหล็กตามมาด้วยสำหรับแหล่งอาหารของธาตุเหล็กและการดูดซึมธาตุเหล็กในอาหารประกอบไปด้วย 2 รูปแบบ คือ
- – สารประกอบฮีม (Heme Iron) ธาตุเหล็กในรูปฮีมร่างกายสามารถดูดซึมได้โดยตรงและสามารถถูกดูดซึมไปใช้ได้สูงกว่าร้อยละ 20 – 30 มีอยู่ในอาหาร เช่น เลือด เนื้อสัตว์ ตับ เครื่องในสัตว์ ไก่ ปลา อาหารทะเล
- – สารประกอบที่ไม่ใช่ฮีม (Non – Heme Iron) ธาตุเหล็กในรูปที่ไม่ใช่ฮีม การดูดซึมจะขึ้นกับปัจจัยส่งเสริมหรือขัดขวางการดูดซึมที่มีในอาหารด้วยกันและถูกดูดซึมไปใช้ได้น้อยเพียงร้อยละ 3 – 5 มีอยู่ในอาหาร เช่น พืชผัก ข้าว ถั่วเมล็ดแห้ง ไข่แดง นม
แนวทางการเลือกทานอาหาร
- – รับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปองค์ประกอบของฮีม ซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ เลือด ตับ เครื่องในไก่ ปลา กุ้ง หอย
- – รับประทานเนื้อสัตว์วันละ 6 – 12 ช้อนกินข้าว เนื่องจากเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นอกจากจะมีเหล็กสูงแล้วยังมีผลทำให้การดูดซึม
ธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีมจากอาหารอื่นดีขึ้น
- – รับประทานผลไม้วันละ 3 – 5 ส่วน โดยเฉพาะผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีมจากอาหารได้มากขึ้น
- – รับประทานผักผลไม้สด เพราะความร้อนในการประกอบอาหารจะทำลายวิตามินซีได้
- – ไม่ควรดื่มนมวัวหรือนมถั่วเหลืองพร้อมมื้ออาหาร หรือพร้อมยาเสริมธาตุเหล็ก
เพราะแคลเซียมในนมและไฟเตทในนมถั่วเหลืองจะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กจากยาลดลงทั้งนี้ ร่างกายประกอบไปด้วยเลือดประมาณ 1 ใน 12 ส่วนของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เช่น ผู้ใหญ่น้ำหนัก 60 กิโลกรัมจะมีเลือดประมาณ 5 ลิตร ซึ่งในเลือดประกอบไปด้วยพลาสมา เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด โดยร่างกายมีธาตุเหล็กประมาณ 40 – 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งธาตุเหล็กจะอยู่ในเม็ดเลือดแดงในรูปของฮีโมโกลบินและเก็บสะสมอยู่ที่ตับและม้าม เม็ดเลือดแดงถูกสร้างที่ไขกระดูกและออกมาอยู่ในกระแสเลือด ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปยังปอดและเซลล์เนื้อเยื่อต่าง ๆ เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน หลังจากนั้นเม็ดเลือดแดงจะถูกทำลายและธาตุเหล็กจะถูกปล่อยออกมาและนำกลับไปใช้ใหม่ในการสร้างฮีโมโกลบินและเม็ดเลือดแดงใหม่อีกครั้ง
วันนี้เรามี 8 อาหาร บำรุงเลือด ที่ช่วยบำรุงโลหิต ป้องกันอาการหน้ามืดเป็นลม และช่วยบรรเทาอาการของโรคโลหิตจางได้ด้วย ซึ่งจะมีอาหารอะไรบ้างนั้น ตามเรามาดูกันเลยค่ะ

ที่มา https://women.trueid.net/detail/9n6kPo035O4A
1. ผักใบเขียว ไม่ว่าจะเป็นผักโขม ผักคะน้า บรอกโคลี ผักเหล่านี้มีธาตุเหล็กสูงมาก ซึ่งดีต่อการที่ร่างกายจะได้นำไปใช้ใน
การผลิตเซลล์เม็ดเลือดค่ะ ถึงแม้ว่าร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กในผักใบเขียวได้น้อยกว่าการรับประทานเนื้อสัตว์ แต่หากเรา
รับประทานคู่กับอาหารที่มีวิตามินซีสูงก็สามารถช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีค่ะ

ที่มา https://women.trueid.net/detail/9n6kPo035O4A
2. เครื่องในสัตว์ ในเครื่องในสัตว์นั้นก็มีธาตุเหล็กอยู่มากซึ่งดีต่อการ บำรุงเลือด ค่ะ โดยเมนูง่าย ๆ ที่เราเห็นได้ทั่วไปอย่าง
ต้มเลือดหมู ก๋วยจั๊บ เมนูเหล่านี้ก็ช่วยบำรุงเลือดได้ดีค่ะ อย่างไรก็ตามในกลุ่มคนที่มีปัญหาไขมันสูง คอเลสเตอรอลสูง ควรละเว้นการกินเครื่องในสัตว์แล้วหันไปรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงชนิดอื่น ๆ แทนจะดีกว่าค่ะ

ที่มา https://women.trueid.net/detail/9n6kPo035O4A
3. ถั่วต่างๆ ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเหลือง การรับประทานถั่วเหล่านี้ก็เป็นการเพิ่มธาตุเหล็กในร่างกายและช่วยในการสร้าง
เม็ดเลือดได้ค่ะ แต่ธาตุเหล็กในถั่วเหล่านี้ก็ยังถือเป็นธาตุเหล็กจากพืชที่ร่างกายดูดซึมได้น้อย ดังนั้นเราจึงแนะนำให้รับประทาน
คู่กับอาหารวิตามินซีสูง เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้นค่ะ

ที่มา https://women.trueid.net/detail/9n6kPo035O4A
4. มะละกอ มะละกอได้ชื่อว่าเป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะทั้งช่วยในการขับถ่าย บำรุงสายตาและช่วยบำรุงผิวพรรณ แต่นอกจากนี้มะละกอยังมีโฟเลตสูงซึ่งสามารถช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดงได้ค่ะ โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์การรับประทาน
มะละกอก็ยังช่วยบำรุงลูกในท้องได้

ที่มา https://women.trueid.net/detail/9n6kPo035O4A
5. แตงกวา จัดเป็นพืชที่มีโฟเลตสูงเช่นเดียวกัน ซึ่งนอกจากแตงกวาจะช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกายได้แล้ว แตงกวายัง
มีสรรพคุณในการช่วยควบคุมคามดันโลหิต ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเสริมการทำงานของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อและระบบหมุนเวียนเลือดได้อีกค่ะ

ที่มา https://women.trueid.net/detail/9n6kPo035O4A
6. เนื้อปลา มีวิตามินบี 12 หรือโคบาลามิน (Cobalamin) สูงค่ะ ซึ่งวิตามินชนิดนี้สามารถที่จะช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจาง ช่วยให้การทำงานของสมองและระบบประสาทเป็นปกติ นอกจากนี้การรับประทานเนื้อปลาเป็น
ประจำยังทำให้เราได้รับกรดไขมันดี แคลอรี่ต่ำและเป็นการช่วยควบคุมน้ำหนักได้ค่ะ

ที่มา https://women.trueid.net/detail/9n6kPo035O4A
7. อาหารทะเล มีธาตุเหล็กและโปรตีนเช่นเดียวกัน โดยเป็นธาตุเหล็กในสารประกอบฮีม ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี และหากได้รับธาตุเหล็กคู่กับวิตามินซีจากผักและผลไม้ ก็จะยิ่งทำให้ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ดีขึ้นค่ะ

ที่มา https://women.trueid.net/detail/9n6kPo035O4A
8. กระเทียม รวมถึงพริกและขมิ้น ถือเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทยที่มีสรรพคุณทางยาด้วย ซึ่งสามารถช่วยบำรุงเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยลดความดันโลหิตสูง ซึ่งเมื่อรับประทานเป็นประจำก็จะช่วยให้ระบบเลือดในร่างกายของเราแข็งแรง